National Health Security Office (NHSO) Region 2 Phitsanulok
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว 
  • แสดงผลสีแบบปกติ 
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง 
  • larger 
  • default 
  • smaller 
  • เปลี่ยนการแสดงผล

    เปลี่ยนภาษา

ประชาสัมพันธ์

สปสช.เขต 2 มอบป้ายศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองและประกาศเกียรติคุณการดำเนินงานศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองพื้นที่เขต 2 พิษณุโลก

 (วันที่ 13 ธ.ค. 2566) สปสช.เขต 2 พิษณุโลก จัดประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจและมอบป้ายศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองและประกาศเกียรติคุณการดำเนินงานศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองพื้นที่เขต 2 พิษณุโลก (พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ตาก) กล่าวเปิดการประชุมและมอบทิศทางเป้าหมายการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคียุทธศาสตร์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายมนลัด ภัทรเศรษฐเศรณี ผู้อำนวยการกลุ่ม พร้อมด้วย นายกนิษฐ์ สังข์สุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่ม และนางอุรุสรา รักพันวรัท ผู้อำนวยการกลุ่ม

.
นายมนลัด ภัทรเศรษฐเศรณี ผู้อำนวยการกลุ่ม สปสช.เขต 2 พิษณุโลก กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานปี 2567 ว่า เน้นเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือ กลุ่มเปราะบาง การสร้างความเข้มแข็งและขยายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพของภาคีเครือข่ายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาขอชื่นชมการใช้พลังทางบวกให้เกิดการยกระดับ ขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง เขต 2 ร่วมสร้างและมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ
.
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีการถอดบทเรียนความภูมิใจบนเส้นทาง “นักสื่อสารศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง” ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทั้ง หน่วยบริการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น เสียงสะท้องของกลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่ห่างไกล ได้รับรู้เรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลทำให้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล ได้รับการคุ้มครองสิทธิมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง รู้สึกภูมิใจในการทำงานเพื่อคนในชุมชน พร้อมขับเคลื่อนงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2567 อย่างแข็งแกร่งต่อไป
.
สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีการซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายสนับสนุนการดำเนินงานฯ และการ update สิทธิประโยชน์ใหม่ๆ การคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2567 รวมทั้งการบันทึกข้อมูลในระบบรับเรื่องร้องเรียน (CRM) เพื่อให้การบันทึกเรื่องร้องเรียนเป็นระบบ สามารถส่งต่อข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานได้สะดวก และนำข้อมูลไปใช้ในการนำเสนอรายงานยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้