National Health Security Office (NHSO) Region 2 Phitsanulok
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว 
  • แสดงผลสีแบบปกติ 
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง 
  • larger 
  • default 
  • smaller 
  • เปลี่ยนการแสดงผล

    เปลี่ยนภาษา

ประชาสัมพันธ์

อปสข.เขต 2 พิษณุโลก เคาะงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ปี 67 วงเงิน 12.3 ล้านบาท แก้ปัญหาสุขภาพระดับเขต/จังหวัด พร้อมชื่นชม อบต./เทศบาล ร้อยละ 69 ร่วมสร้างสุขภาพประชาชน เบิกจ่ายงบ กปท. บรรลุเป้าหมาย

 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องประชุม 201 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 2 พิษณุโลก จัดการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ (อปสข.) เขต 2 พิษณุโลก ครั้งที่ 6/2566 ณ ห้องประชุม สปสช.เขต 2 พิษณุโลก และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี พลตำรวจโท วสันต์ วัสสานนท์ ประธาน อปสข. เขต 2 พิษณุโลก ทำหน้าที่ประธานการประชุม พร้อมด้วย ทพ.สันติ ศิริวัฒนไพศาล ผู้อำนวยการเขต สปสช.เขต 2 พิษณุโลก ตลอดจนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สปสช. ร่วมแลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลตามระเบียบวาระการประชุม

.
ที่ประชุมมีมติรับทราบผลการดำเนินงานสร้างระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ อาทิ
- แนวทางการบริหารจัดการงบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขตหรือจังหวัด (PPA) ปีงบประมาณ 2567 กรอบวงเงิน 12.3 ล้านบาท โดยใช้รายการปัญหาทางสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 2 ภายใต้ยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี และปัญหาสำคัญระดับเขต 5 ประเด็น ได้แก่ 1. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) 2. วัณโรค(TB) 3. ไวรัสตับอักเสบซีและบี 4. ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก 5. ปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV ในวัยเจริญพันธุ์
- ผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (กปท.) เบิกจ่ายงบประมาณได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมดทั้งปีของ กปท. ร้อยละ 69.03 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมาย = ร้อยละ 50) นอกจากนี้ รับทราบผลการดำเนินงานประเด็นนโยบายตามมติบอร์ด ได้แก่ (1) โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ มีการเบิกจ่ายแล้ววงเงิน 14.3 ล้านบาท (2) โครงการแว่นตาผู้สูงอายุ เบิกจ่ายแล้ว 3.05 ล้านบาท (3) โครงการป้องกันและชะลอไตเสื่อม เบิกจ่ายแล้ว 2.90 ล้านบาท
- ผลการบริหารจัดการบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสําหรับผู้มีภาวะพึ่งพิง รับทราบแผนการดำเนินงานประเด็นขับเคลื่อน
- ผลการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน เน้นการเร่งรัดหน่วยบริการที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และรับทราบแนวทางการดำเนินงานปี 2567
- ผลการบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ มอบสำนักงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและขอความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก ร่วมกำกับติดตาม
- การสมัครขึ้นทะเบียนหน่วยบริการใหม่ "One Stop Service"
.
นอกจากนี้ ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานเด่นจากพื้นที่ โดยนายศรัณยู กุลชนกวิน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ นำเสนอผลการดำเนินงานคัดกรองไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์ จ.อุตรดิตถ์ รวมถึงประเด็นสืบเนื่องสำคัญ ได้แก่ ผลการสำรวจการรับรู้สิทธิและหน้าที่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2566 โดยมอบสำนักงานจัดทำแผนสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการรับรู้โดยเฉพาะประเด็นที่ผลการรับรู้ค่อนข้างต่ำเพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป.